สมัยสุโขทัย ประมาณ ค.ศ.1300 – 1500 (พ.ศ.1503 – 1822)
เป็นแหล่งผลิตเครื่องปั้นดินเผาประเภทสโตนแวร์ (Stoneware) เคลือบสีเขียวไข่กา
ซึ่งเราเรียกเครื่องปั้นดินเผาเคลือบโทนสีเขียวนี้ว่า “เครื่องสังคโลก”
เรียกชื่อตามแหล่งเตาเผาที่ผลิตในประวัติศาสตร์ อยู่ที่ อ. สวรรคโลก
จ.สุโขทัย
ฝรั่งนิยมเรียกเครื่องสังคโลกว่า ผลิตภัณฑ์เซลาดอน (Celadon) ตามภาษาฝรั่งเศส
เครื่องถ้วย เซลาดอนนี้ มีต้นกำเนิดมาจากจีน ถ้าก้นถ้วยมีตราเป็นภาษาจีน
แสดงว่าผลิตมาจากจีน แต่ถ้าก้นถ้วยมีอักษรไทย แสดงว่าผลิตในเมืองไทย
สุโขทัยเป็นแหล่งผลิตเครื่องสังคโลกของไทยมาต่อเนื่องนานกว่า 200 ปี
ดังได้พบซากเตาเผาเก่าที่ ต.บ้านเกาะน้อย และ ต.ป่ายาง จำนวนหลายร้อยเตา
ผลิตเป็นสินค้าส่งออกไปจำหน่ายต่างประเทศ ได้พบชิ้นงานเครื่องเคลือบเซลาดอนชิ้นงาม
ๆ ที่มีความสมบูรณ์ที่อินโดนีเซีย ชวา สุมาตรา มะละกา ฟิลิปปินส์ และญี่ปุ่น
ตามเส้นทางการเดินเรือติดต่อค้าขาย
ในปลายสมัยสุโขทัย บ้านเมืองอ่อนแอ เกิดศึกสงครามบ่อยครั้ง และได้ย้ายไปตั้งเมืองหลวงใหม่ที่
กรุงศรีอยุธยา จึงไม่มีการทำเซลาดอนต่อ
สมัยอยุธยา ประมาณปี ค.ศ.1550 – 1750 (พ.ศ.2100 – 2310) ได้มีการสั่งผลิตภัณฑ์พอร์ตสเลน
(Porcelain) จากจีนเข้ามาใช้ในราชสำนักจำนวนมาก ซึ่งเป็นเครื่องปั้นดินเผาเนื้อขาวกึ่งแก้ว
ทำมาจากมณฑลเจียงซี ประเทศจีน ไทยเรียกว่าเครื่องกังไส หรือเครื่องลายคราม
คนส่วนใหญ่หันไปนิยมเครื่องกังไสแทนเซลาดอน |
|
ในจังหวัดเชียงใหม่ แต่เดิมมีการผลิตเครื่องปั้นดินเผาอุณหภูมิต่ำ
ประเภทคนโท หม้อน้ำ อ่าง และกระถาง เป็นต้น เป็นผลิตภัณฑ์ดินแดง Terra
Cotta ไม่เคลือบ ต่อมาประมาณปี ค.ศ.1950 (พ.ศ.2480) เริ่มมีชาวไทยใหญ่จากรัฐฉาน
ประเทศพม่า อพยพมาตั้งถิ่นฐานในจังหวัดเชียงใหม่มากขึ้น มีการตั้งเตาฟืนหลายเตาที่บริเวณตลาดประตูช้างเผือก
โดยใช้เคลือบขี้เถ้าไม้เผาที่อุณหภูมิสูง ผลิตหม้อแช่ ข้าวนึ่ง กระถาง
ขารอง ตู้กับข้าว ซึ่งเป็นสินค้าที่ใช้ในท้องถิ่น ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตเป็นเนื้อดินสโตนแวร์เคลือบสีเขียวเซลาดอน
ต่อมาผลิตภัณฑ์เซลาดอนก็ได้มีการออกแบบหลากหลายขึ้น เมื่อมีชาวต่างชาติเป็นเจ้าของโรงงานเซลาดอนในจังหวัดเชียงใหม่ได้ออกแบบเป็นชุดอาหาร
แจกัน และของแต่งบ้านอื่น ๆ ซึ่งต่อมาเมื่อเซลาดอนเป็นที่นิยมของตลาดมากขึ้น
ได้มีพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง มีการผลิตที่หลากหลาย จนมีเตาเผาที่ผลิตเซลาดอนที่มีชื่อเสียงหลายเตาเกิดขึ้นในเชียงใหม่
ซึ่งส่วนใหญ่ยังผลิตแบบดั้งเดิมโดยใช้ฝีมือแรงงาน ใช้เครื่องจักรในการผลิตน้อย
น้ำเคลือบใช้สูตรโบราณจากขี้เถ้าไม้ยืนต้น จากไม้ก่อและ ไม้รกฟ้า
จึงถือได้ว่า เชียงใหม่ เป็นแหล่งผลิตเซลาดอนแบบดั้งเดิม ที่อนุรักษ์ความงามของศิลปะสมัยสุโขทัยไว้
และมีการผลิตอย่างต่อเนื่องมานานกว่า 70 ปี จนถึงปัจจุบัน
ที่มา: นางสาวไพจิตร อิ่งศิริวัฒน์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา,
กุมภาพันธ์ 2552 |